สูตรอาหาร

ร่วมสร้าง COOK BOOK ส่วนตัว
เพียงแนะนำสูตรอาหารของคุณที่นี่

เริ่มเลย!

เตรียมอาหารสำหรับไหว้บรรพบุรุษ ในเทศกาลเชงเม้ง

FoodieTaste 16 Feb 2553 0:58:54 149744 view
เตรียมอาหารสำหรับไหว้บรรพบุรุษ ในเทศกาลเชงเม้ง

อีกหนึ่งวันสำคัญของประเพณีจีน ที่มีการทำของไหว้เจ้าที่ และไหว้บรรพบุรุษ ซึ่งเป็นวันที่ชาวไทยเชื้อสายจีน ไปไหว้บรรพบุรุษกันที่สุสาน เพื่อแสดงความกตัญญู


เทศกาลชิงหมิง ( qing-ming ) หรือ เชงเม้ง เช็งเม้ง เป็นชื่อของสารท ( 1 ปีมี 24 สารท ) "เช็ง" หมายถึง สะอาด บริสุทธิ์ และ "เม้ง" หมายถึง สว่าง รวมแล้วหมายความถึง ช่วงเวลาแห่งความแจ่มใส รื่นรมย์

สารท เช็งเม้ง หรือ เชงเม้ง จะตรงกับปฏิทินทางสุริยคติในวันที่ 5 เมษายน แต่ระยะเวลาสำหรับเทศกาลกำหนดค่อนข้างยาว มีการกำหนดสองแบบ คือ ก่อน 10 วันหลัง 8 วัน กับ ก่อน 10 วันหลัง 10 วัน ช่วงประมาณ 5 เมษา - 20 เมษา ของทุกปี

ใน ประเทศจีนจะเป็นฤดูใบไม้ผลิ อากาศจะคลายความหนาวเย็น เริ่มเข้าสู่ความอบอุ่น มีฝนตกปรอย ๆ มีบรรยากาศสดชื่น ท้องฟ้าใสสว่าง ( เป็นที่มาของชื่อ สารท เช็งเม้ง ) แต่เมืองไทยนี่สิครับ วันเชงเม้ง แสนจะร้อนเหลือเกิน แต่พวกเราชาวไทยเชื้อสายจีน ก็สู้ เพื่อแสดงถึงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ

วันเชงเม้ง เป็นประเพณีที่สำคัญมากที่สุดของของชาวจีน คือ ไหว้บรรพบุรุษที่สุสาน (ฮวงซุ้ย หรือ ฮวงจุ้ย) เป็นการแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ โดยมีอิทธิพลมาจากลัทธิขงจื้อ ที่เน้นเรื่องความกตัญญูเป็นสำคัญ

สำหรับของที่ต้องเตรียมมาไหว้นั้น สิ่งสำคัญๆ ก็ได้แก่

  • อาหารคาว ไก่ / เป็ด / ปลา / หมู
  • อาหารหวาน ต่างๆ แล้วแต่ชอบ (ส่วนใหญ่ตามคนไหว้อยากทาน)
  • ผลไม้ 5 อย่าง อาทิ กล้วย / ส้ม / แอปเปิ้ล / สับปะรด / องุ่น / ขนุน
  • แบงค์กระดาษ กระดาษเงินกระดาษทอง เสื้อกระดาษ
  • ของตกแต่งฮวงซุ้ย เช่น ธง กระดาษสี กระดาษสะท้อนแสงสำหรับโรยตกแต่ง ดอกคูณ ดอกเฟื่องฟ้า
ตัวอย่างอาหารสำหรับเทศกาลเชงเม้ง

เนื้อสัตว์

ผลไม้ ขนมหวาน

สลัดกุ้งทอด
เป็ดอบเกาลัด
ปลากระพงราดซอสเนยอัลมอนด์
ผักกาดแก้วผัดเบคอนพริกแห้ง
ราดหน้าฟองเต้าหู้
ผัดหมี่มันฝรั่ง
ยำปลาดุกฟูมะม่วง

มัฟฟินบลูเบอร์รี่
บราวน์นี่อัลมอนด์บาร์
ขนมถ้วยฟูหลากสี
ขนมเปี๊ยะงาดำ
เต้าฮวยฟรุตสลัด
เจลลี่เงาะสอดไส้สับปะรด

<<คลิกที่นี่อ่านสูตรอาหารอื่นๆ>>
 
  

ประโยชน์ของการไป ไหว้บรรพบุรุษ เทศกาลเชงเม้ง

  1. เพื่อ รำลึกถึงคุณความดี ที่บรรพบุรุษของเราได้ทำ,ดูแลเรา ,ลำบากตรากตรำ ก่อร่างสร้างตัวเพื่อลูกหลานมีความเป็นอยู่ที่ดี และเป็นแบบอย่างการดำเนินชีวิต
  2. เพื่อให้ลูกหลานที่อยู่กระจัด กระจาย ได้มาเจอหน้ากัน พบปะ เพื่อสร้างความสามัคคี จัดเป็นวันรวมญาติ รวมตระกูลเลยก็ว่าได้ เพราะงั้นจึงควรที่จะนัดไปไหว้พร้อมกัน ( วันและเวลาเดียวกัน )
  3. เป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตให้แก่ลูกหลาน ให้เน้นความกตัญญูที่มีต่อบุพการีและบรรพบุรุษ ลูกหลานจึงควรปฏิบัติตาม เป็นการเตือนสติแก่ตนเองว่า ความตายต้องเกิดขึ้นกับทุกคน และเป็นธรรมดาของมนุษย์

ประเพณีปฏิบัติในวัน เช็งเม้ง

การ ไปเซ่นไหว้บรรพบุรุษที่สุสานนั้น ต้องไหว้ในช่วงเช้าก่อนเวลา 12.00 น. เมื่อไปถึงสุสานให้ไหว้ศาลเจ้าที่แป๊ะกงเสียก่อนด้วยอาหารคาวหวาน ผลไม้ ขนมอี๋ 5 ที่ 5 ถ้วย เพราะการไหว้เจ้าที่คือการไหว้ธาตุทั้ง 5 โดยจุดธูปไหว้ 5 ดอก บางแห่งมีไหว้เจ้าประตู หรือที่เรียกกันว่า “มึ่งซิ้ง” ต้องไหว้ธูปเพิ่มอีก 2 ดอก ปักที่เสาประตูข้างละดอก
จากนั้นจึงไปที่ ฮวงซุ้ย ทำความสะอาดปัดกวาด ดายหญ้า ปลูกต้นไม้ดอกไม้ อาจลงสีที่ป้ายชื่อให้ดูใหม่ โดยคนตายแล้วลงสีเขียว หรือสีทองขลิบเขียว ส่วนคนเป็นให้ลงสีแดง และมีการกางเต็นท์ไว้กันแดด ในปัจจุบันสิ่งเหล่านี้เมื่อถึงเทศกาลเช็งเม้งจะมีคนมาคอยบริการให้ โดยเสียค่าบริการเท่านั้น

นอกจากนี้ มีธรรมเนียมการนำสายรุ้งมาประดับตกแต่งบนเนินหลุมศพด้วย บรรดาลูกหลานจะนำสายรุ้งสีสันต่างๆ รวมทั้งธงมาตกแต่งเต็มไปหมด ตามธรรมเนียมให้ใช้ กระดาษม้วนสีแดงสำหรับ? สุสานคนเป็น (แซกี) ส่วนสุสานคนตาย (ฮกกี) ใช้หลากสีได้ ส่วนเรื่องธงนี้บ้างบ้านก็ห้ามปักกัน เพราะถือว่าเป็นของแหลมที่ทิ่มแทงเข้าไปบนหลุม อาจทำให้หลังคาบ้านบรรพบุรุษรั่วได้ ซึ่งก็เป็นความเชื่อของแต่ละคน

*** ห้ามวางของตรงแท่นหน้า เจียะปี ( ป้ายหิน ที่จารึกชื่อ บรรพบุรุษ )
เพราะเป็นที่เข้าออกของ วิญญาณบรรพบุรุษ ***

หลังจากนั้นจึงจัดเตรียมของเซ่นไหว้ ในการไหว้ต้องไหว้เทพยดาผืนดิน หรือโท้วตี่ซิ้ง เสียก่อน ด้วยธูป 5 ดอก เพราะถือว่าท่านเป็นเทพเจ้าที่ ของไหว้จะเหมือนกับที่ไหว้แป๊ะกง ต่อมาผู้อาวุโสในบ้านจะเป็นผู้นำกราบไหว้ ด้วยการจุดธูป 3 ดอกไหว้บรรพบุรุษ และต้องไหว้ 3 รอบ (เฉพาะบรรพบุรุษ)

รอจนไหว้ครั้งที่ 3 แล้ว ไหว้จนเทียนใกล้หมดก้าน ลูกหลานตีวงล้อมด้วยหวาย เผา กระดาษเงิน กระดาษทอง ฯลฯ เป็นการกำหนดขอบเขตว่า สิ่งเหล่านี้ลูกหลานส่งให้ บรรพบุรุษของครอบครัว นั้น ๆ เป็นการเฉพาะ ( ผู้ตีวงล้อม ต้องเป็นลูกหลานเท่านั้น ) จึงเผากระดาษเงินกระดาษทอง และมีการจุดประทัดส่งท้าย ถือเป็นการขับไล่สิ่งไม่ดีทั้งหลายไม่ให้มารบกวนบรรพบุรุษ

เมื่อ เสร็จพิธีไหว้แล้ว บางครอบครัวอาจรับประทานอาหารร่วมกันที่หน้าหลุมศพ เสมือนเป็นการรับประทานอาหารพร้อมหน้ากับบรรพบุรุษด้วย สะท้อนความเชื่อที่ว่า คนตายนั้นตายไปเพียงร่างแต่วิญญาณยังคงอยู่กับเรา

พิธี เชงเม้ง ผู้อาวุโสจะเป็นผู้นำกราบ เป็นอันเสร็จพิธีบางครอบครัวก็จะมานั่งล้อมวงทานอาหารกันต่อ เพื่อเป็นการแสดงความสมานสามัคคีแก่ บรรพบุรุษ

Comment (8)

ฝ้ายสุดสวย

22 Mar 2555 15:08:59

โอ้วสุดโค้ย ]

แจ้งลบ

5555+

18 Jan 2554 20:01:45

ชอบมาก

แจ้งลบ

ออม

10 Feb 2554 16:13:47

2 ]

แจ้งลบ

ออม

10 Feb 2554 16:16:17

2 ]

แจ้งลบ

ตัวเล็ก

04 Apr 2555 15:32:11

ที่บ้านจัดทุกวันที่ 5 เมษาของทุกปี

แจ้งลบ

cha

18 Jan 2554 19:41:28

ดีๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

แจ้งลบ

04 Apr 2554 21:33:51

ที่บ้านก็จัดเชงเม้ง วันที่ 5 เมษายน 2554

แจ้งลบ

จันทนา

12 Mar 2553 15:49:50

ขอบคุณสำหรับข้อมูล

แจ้งลบ

Write Review

ยิ้ม ฮา กระพริบตา ตะลึง อ้าปากหวอ แลบลิ้น ร้องไห้ หน้าบึ้ง ขมวดคิ้ว โกรธ ยิ้มมีเลศนัย แหวะ ใส่แว่น ซีดเซียว เหงื่อตก เอ๋อจับ เอ๋อจับ Quuu สบายใจ แจ่ม !! ตายซาก โมโหสุดๆ หัวงู ฉลอง เย้ หลับกลบเกลื่อน ยกนิ้วให้ แย่มั่กๆ อันตราย ยิ้มกว้าง หัวเราะ กระพริบตา เท่ห์ ขอโทษ ท้อแท้ หลับ หงุดหงิด ตัวป่วน rrrrrrrrr โอ้ว เฮ้อ ร้องไห้ ดีใจ ฉุน งัวเงีย น่ารัก เริงร่า

Official Editor

Warm Welcome

Foodie

ผู้หลงรักการทำและชิมอาหาร

Partner

พันธมิตร และแบรนด์วัตถุดิบอาหาร

Professional service

หน่วยงานและองค์กร

Contact Us

Bangkok Thailand

+6681 559 9599

foodietaste88@gmail.com