หากพระอาทิตย์คิอสัญลักษณ์แทนประเทศชาติ วาซาบิ (Wasabi) ก็คือตัวแทนวัฒนธรรมการกินอันมีเอกลักษณ์ของชาวญี่ปุ่นมานานกว่าหลายร้อยปี
หากพระอาทิตย์คิอสัญลักษณ์แทนประเทศชาติ วาซาบิ (Wasabi) ก็คือตัวแทนวัฒนธรรมการกินอันมีเอกลักษณ์ของชาวญี่ปุ่นมานานกว่าหลายร้อยปี
ที่มาของเครื่องปรุงชนิดที่แสบขึ้นจมูกผ่านทะลุสมอง เริ่มต้นจากชาวนาในชนบทในจังหวัดชิซึโอกะตัดสินใจว่าจะนำต้นวาซาบิที่ตนเองปลูกถวายแต่ โชกุนโตกุกาวะ อิเอยาสุ (ค.ศ. 1542-1616) หรือโชกุนผู้ยิ่งใหญ่สมัยเอโดะ เพื่อรายงานว่าพันธุ์พืชชนิดนี้ปรากฏในประเทศญี่ปุ่นด้วย เพระาสมัยนั้นประชาชนยังไม่ค่อยรู้จักวาซาบิกันสักเท่าไหร่ เมื่อท่านโชกุนได้ลิ้มลองชิมรสชาติก็เกิดติดอกติดใจ จึงประกาศให้วาซาบิเป็นสมบัติล้ำค่าที่อนุญาตให้ปลูกได้เฉพาะในเขตจังหวัดชิซึโอกะเท่านั้น ไม่ใช่ว่าท่านหวงไม่ยอมให้เผยแพร่
แต่วาซาบิเป็นพืชที่ปลูกค่อนข้างยาก จะเจริญเติบโตก็ต่อเมื่ออยู่บนพื้นน้ำสะอาดบริสุทธ์ มีความสมดุลของแร่ธาตุ และอยู่ท่ามกลางอากาศปลอดโปร่งเย็นสบายเท่านั้น ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมด จังหวัดชิซึโอกะมีครบ (เป็นจังหวัดที่เป็นที่ตั้งของภูเขาไฟฟูจิ) อีกทั้งยังมีน้ำพุที่ใสสะอาดและมีแร่ธาตุที่อุดมสมบูรณ์
อย่างไรก็ตาม เราสามารถปลูกวาซาบิบนพื้นดินได้ แต่ราคาและคุณภาพจะสู้วาซาบิที่ปลูกในน้ำไม่ได้ หรือถ้าจะปลูกในเขตร้อน จะต้องมีการควบคุมปริมาณแสงแดดไม่ให้มากเกินไป เพราะฉะนั้นเมื่อวาซาบิถูกจำกัดที่เพาะปลูก ทำให้ราคาแพงแสนแพง กิโลเป็นพันๆ เพราะต้องนำเข้าจากญี่ปุ่นเท่านั้น เคยเถียงว่าไม่เห็นแพงตรงไหน หากินได้ทุกหนทุกแห่ง แต่ก็ถูกโยนคำถามกลับมาว่าแน่ใจแล้วหรือว่าที่กินเข้าไปคือ วาซาบิสดจากแดนปลาดิบแท้ๆ เพราะเดี๋ยวนี้เค้าลดต้นทุนด้วยการทำวาซาบิเทียม ซึ่งมีลักษณะเป็นผงสีเขียวๆ เมื่อมาผสมน้ำจะกลายเป็นวาซาบิเทียมที่มีหน้าตาคล้ายวาซาบิแท้ ซึ่งรสชาติเผ็ดฉุนที่หลอกเรานั้น แท้ที่จริงมาแล้วทำมาจาก หัวฮอร์สแรดิชผสมกับผงมัสตาร์ด สีเขียวนวลๆก็เกิดจากสีผสมอาหาร และที่สามารถหยิบมาปั้นเป็นก้อนๆ ได้เพราะมีการผสมแป้งลงไป ส่วนความแตกต่างระหว่างของวาซาบิแท้กับวาซาบิเทียม คือรสเผ็ดๆ แสบๆ จากของเทียมจะหายไปเร็วกว่าของแท้และเก็บรักษาได้นานกว่า
กว่าจะได้กินวาซาบิเนื้อเนียนเป็นครีมสีเขียวอ่อนๆ ต้องกำลำต้นวาซาบิในอุ้งมือให้มั่น แล้วออกแรงหมุนเป็นวงกลมลงบน วาซาบิโอะโรฉิ หรือเครื่องฝนที่ทำมาจากผิวหนังปลาฉลาม ซึ่งมีลักษณะเป็นปุ่มๆ เล็กๆ เนื้อวาซาบิจึงนุ่มเนียนละเอียด แต่ปัจจุบันอนุญาติให้ใช้โอโรชิงาเนะหรืออุปกรณ์ฝนหัวผักกาด ขิง หรือหัวผักต่างๆ ที่มีหน้าตาคล้ายๆกันได้ จากนั้นนำไปทำเมนูต่างๆตามต้องการ แต่ชาวญี่ปุ่นนิยมมากที่สุดคือกินคู่กับสารพัดเมนูปลาดิบนั่นเอง ต้องมีขึ้นโต๊ะตลอดเครื่องปรุงชนิดนี้ เพราะว่าวาซาบิสามารถกำจัดพยาธิที่อยู่ในปลา รวมถึงฆ่าเชื้อโรคและแบคทีเรีย เนื่องจากมีสารอัลลิล ไอโซไธโอไซยาเนต (Allyl Isothiocyanate) ประกอบอยู่ และยังช่วยป้องกันการอุดตันของเส้นเลือด ป้องกันฟันผุ แถมอุดมไปด้วยสารเบต้า-แคโรทีน ที่ช่วยป้องกันมะเร็งกระเพาะอาหาร
พูดถึงวิธีการกินปลาดิบกับวาซาบิอย่างถูกวิธีกันบ้าง คือตามธรรมเนียมจะต้องป้ายวาซาบิลงบนเนื้อปลา แล้วนำด้านที่ไม่ได้สัมผัสวาซาบิจุ่มในโซยุ แต่รสนิยมการกินของคนไม่มีถูกไม่มีผิด เพราะฉะนั้นละลายวาซิบิลงในโซยุแล้วจิ้มก็ได้
รักการทำอาหารไทยและขนมหวานโบราณ โดยยึดต้นตำรับชาววัง และเป็นผู้เขียนหนังสือ "เลาะรั้วครัววัง"
อาจารย์ มาโนชญ์ พูลผล
ที่ปรึกษาการถ่ายภาพ ช่างภาพ วิทยากร บรรยายเรื่องการถ่ายภาพ ของ NIKON THailand
อาจารย์ สยาม เอี่ยมพิชัยฤทธิ์ (ที่ปรึกษาการถ่ายภาพ )
ไม่น่าเชื่อว่าระยะเวลา 365 วันผมทำอาหาร แทบจะไม่ซ้ำกันเลย ด้วยวัตถุดิบของผมก็ได้ จากตลาดใกล้บ้าน
ทนายอ้วน (Chubby Lawyer)
Chef Instructor of Western Culinary Arts of Dusit Thani College
เชฟเบิ้น Wachiravit Homboonyong
Foodie
ผู้หลงรักการทำและชิมอาหาร
Partner
พันธมิตร และแบรนด์วัตถุดิบอาหาร
Professional service
หน่วยงานและองค์กร
Comment (0)