กาแฟนิยมปลูกตามบริเวณแถบเส้นศูนย์สูตร แบ่งออกเป็น 4 พื้นที่เพาะปลูกที่สำคัญ แถบแอฟริกาและแหลมอาหรับ,แถบอเมริกากลางและอเมริกาใต้,แถบอินโดนีเซีย,แถบบริเวณอื่นๆ และชนิดของเมล็ดกาแฟที่นิยมปลูกตามพื้นที่ต่างๆให้รสชาติและมีเอกลักษณ์แต่งต่างกัน
กาแฟนิยมปลูกตามบริเวณแถบเส้นศูนย์สูตร แบ่งออกเป็น 4 พื้นที่เพาะปลูกที่สำคัญ แถบแอฟริกาและแหลมอาหรับ,แถบอเมริกากลางและอเมริกาใต้,แถบอินโดนีเซีย,แถบบริเวณอื่นๆ และชนิดของเมล็ดกาแฟที่นิยมปลูกตามพื้นที่ต่างๆให้รสชาติและมีเอกลักษณ์แต่งต่างกัน
กาแฟถูกค้นพบครั้งแรกในทวีปแอฟริกา อย่างที่คอกาแฟทุกคนทราบกัน หลังจากนั้นกาแฟได้อพยพแยกย้ายไปทั้งทางซ้ายและขวาของโลก เกิดเป็นถิ่นฐานกาแฟตามที่ต่างๆ ซึ่งจะไปทางเหนือได้ไม่เกินเส้นทรอปิคออฟแคนเซอร์ (Tropic of Cancer) และหยุดอยู่ทางใต้แค่เส้นทรอปิคออฟแคปริคอน (Tropic of Capricon) จะสังเกตได้ว่าถิ่นฐานกาแฟจะอยู่บริกเวณเส้นศูนย์สูตร ทำให้พื้นที่การปลูกกาแฟของโลกที่มีลักษณะคล้ายเข็มขัด Bean-Belt
สามารถแบ่งพื้นที่การเพาะปลูกกาแฟได้ออกเป็น 4 พื้นที่คือ
1.แอฟริกาและแหลมอาหรับ
กาแฟขากเขตนี้จะมีรสชาติโดดเด่นมากที่สุด มีความเข้มข้นกลิ่นหอมแรง ซ่อนกลิ่นรสของช็อกโกแล็ตและผลไม้เปรี้ยวคล้ายไวน์
ชนิดกาแฟที่นิยมปลูกในแอฟริกาและแหลมอาหรับ
3.อินโดนีเซีย
กาแฟจากอินโดนีเซียมีเพียง 10 % เท่านั้นที่เป็นอาราบิก้า แต่ถือเป็นกาแฟอาราบิก้า 10 % ที่ดีที่สุดในโลก มีรสที่เข้มข้น บอดี้หนักอึ้ง เปรี้ยวละมุน มีกลิ่นรสของดิน แต่ละจิบจะรู้สึกถึงรสชาติได้นาน ชนิดกาแฟที่นิยมปลูกในอินโดนีเซีย
ส่วนการปลูกกาแฟในประเทศไทย ประเทศไทยรู้จ่กกาแฟมามากกว่าครึ่งศตวรรษ จนสามารถส่งออกขายต่างประเทศได้ แต่ครึ่งศตวรรษที่ว่าเป็นช่วงเวลาของกาแฟเฉพาะพันธุ์โรบัสต้า (โรบุสต้า) ซึ่งมีรกรากอยู่ภาคใต้ของประเทศเท่านั้น จนในปี พ.ศ. 2519 ด้วยคุณสมบัติสองประการของกาแฟพันธุ์อาราบิก้า คือ 1. ราคาสูงคุ้มค่าเหนื่อยในการปลูก 2. มีความพร้อมในการรับช่วงดิน ภูมิอากาศ และความสูงเหนือระดับน้ำทะเล ของพื้นที่ที่เคยปลูกฝิ่น เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ใช้ในการปลูกฝิ่นและกาแฟชนิดนี้คล้ายคลึงกับอาราบริก้า จึงทำให้เป็นที่นิยมปลูกทดแทนการปลูกฝิ่น และสามารถส่งออกตลาดโลกได้
รักการทำอาหารไทยและขนมหวานโบราณ โดยยึดต้นตำรับชาววัง และเป็นผู้เขียนหนังสือ "เลาะรั้วครัววัง"
อาจารย์ มาโนชญ์ พูลผล
ที่ปรึกษาการถ่ายภาพ ช่างภาพ วิทยากร บรรยายเรื่องการถ่ายภาพ ของ NIKON THailand
อาจารย์ สยาม เอี่ยมพิชัยฤทธิ์ (ที่ปรึกษาการถ่ายภาพ )
ไม่น่าเชื่อว่าระยะเวลา 365 วันผมทำอาหาร แทบจะไม่ซ้ำกันเลย ด้วยวัตถุดิบของผมก็ได้ จากตลาดใกล้บ้าน
ทนายอ้วน (Chubby Lawyer)
Chef Instructor of Western Culinary Arts of Dusit Thani College
เชฟเบิ้น Wachiravit Homboonyong
Foodie
ผู้หลงรักการทำและชิมอาหาร
Partner
พันธมิตร และแบรนด์วัตถุดิบอาหาร
Professional service
หน่วยงานและองค์กร
Comment (0)