ฝายมือ เป็นหน่วยวัดที่ใช้กันตั้งแต่สมัยโบราณ ในหนังสือตำรับอาหารสมัยก่อน มีการใช้คำนี้ เมื่อพวกเราเจอคำว่า "ฝายมือ" แล้วเราคงจะงงกันว่าแล้วจะต้องตวงวัดกันอย่างไร เรามีคำตอบค่ะ
ฝายมือ เป็นหน่วยวัดที่ใช้กันตั้งแต่สมัยโบราณ ในหนังสือตำรับอาหารสมัยก่อน มีการใช้คำนี้ เมื่อพวกเราเจอคำว่า "ฝายมือ" แล้วเราคงจะงงกันว่าแล้วจะต้องตวงวัดกันอย่างไร เรามีคำตอบค่ะ
อาทิตย์ก่อนหมูน้อยไปเดินตลาดนัดมาค่ะ ไปเจอหนังสือเก่าซึ่งเป็นสูตรอาหารมา ชื่อหนังสือว่า ตำรากับข้าวคาวหวานประจำวัน เขียนโดย “ หม่อมเจ้าหญิง จันทร์เจริญรัชนี ” ตีพิมพ์ในพ.ศ. 2509 (สมัยนั้นคุณพ่อของหมูน้อยเพิ่ง 10 ขวบเองค่ะ) แถมมีลายเซ็นของคุณ ประดิศสม วัชโรทัย อยู่ที่ปกด้านใน เลยรีบเข้าไปอ้อนคุณป๋าขอสปอนเซอร์ด่วน งานนี้ไม่ซื้อลูกสาวมีเคือง
หลังจากได้หนังสือมาแล้ว (และคุณป๋าปาดน้ำตาเสร็จ) ก็เอามานั่งอ่านอย่างสบายใจ พอไปเจอสูตรแกงตะพาบน้ำ (ตะพาบจริงๆ ค่ะ มีวิธีฆ่าตะพาบให้ด้วยอีกต่างหาก ^_^ ) ก็เห็นตรงส่วนของเครื่องปรุงเขียนว่า “ กะปิ..... 1 ฝายมือ ” ทำเอาหมูน้อยงงไปพักใหญ่ ว่าถ้านึกครึ้มอยากทำแกงตะพาบน้ำขึ้นมาจริงๆ แล้วจะตวงกะปิอย่างไรดีล่ะ
หาคำตอบก็ไม่พ้นเจ้าเดิมค่ะ วิ่งไปหาคุณป๋า (ที่พอเห็นหน้าลูกสาวแล้วเริ่มผวา) ถามทันที ว่าฝายมือคืออะไร คุณพ่อที่น่ารักก็ตอบมาให้ค่ะ
ฝายมือ เป็นหน่วยวัดของคนสมัยก่อนค่ะ เมื่อยังไม่มีช้อนตวง หรือถ้วยตวงเหมือนในปัจจุบัน ก็ใช้มือของเราๆ นี่แหละค่ะในการวัด (ซึ่งก็เป็นที่มาของคำว่า “ หยิบมือ ” เหมือนกัน) วิธีก็คือ แบมือออกมา ปลายนิ้วทั้งห้าชิดกัน แล้วจะเห็นว่าตรงกลางฝ่ามือของเรา จะมีแอ่งตื้นๆ อยู่ นั่นแหละค่ะ คือ ฝายมือ
การตวงแบบนี้คงจะให้มาตราที่แน่นอนไม่ได้อยู่แล้ว เพราะมือของแต่ละท่านก็คงจะมีขนาดไม่เท่ากัน แต่การบอกส่วนผสมแบบนี้ก็เหมือนกับการบอกเป็นนัยว่า ใครอยากจะเติม หรือจะลดรสชาติไหนก็ให้ชิมรสกันตามชอบ เหมือนกับสูตรอาหารในปัจจุบันที่จะมีการเขียนไว้ว่า ใส่เกลือเท่าหยิบมือ หรือปรุงรสตามชอบ (ซึ่งในปัจจุบันนี้หยิบมือจะมีค่าเท่ากับประมาณ 1/ 8 ช้อนชาค่ะ)
เพราะฉะนั้น หากท่านไหนที่ไปเจอกับสูตรอาหารสมัยเก่าแล้วเห็นคำนี้ก็ไม่ต้องตกใจนะคะ เพราะมันก็คือการปรุงรสตามชอบนั่นเองค่ะ
รักการทำอาหารไทยและขนมหวานโบราณ โดยยึดต้นตำรับชาววัง และเป็นผู้เขียนหนังสือ "เลาะรั้วครัววัง"
อาจารย์ มาโนชญ์ พูลผล
ที่ปรึกษาการถ่ายภาพ ช่างภาพ วิทยากร บรรยายเรื่องการถ่ายภาพ ของ NIKON THailand
อาจารย์ สยาม เอี่ยมพิชัยฤทธิ์ (ที่ปรึกษาการถ่ายภาพ )
ไม่น่าเชื่อว่าระยะเวลา 365 วันผมทำอาหาร แทบจะไม่ซ้ำกันเลย ด้วยวัตถุดิบของผมก็ได้ จากตลาดใกล้บ้าน
ทนายอ้วน (Chubby Lawyer)
Chef Instructor of Western Culinary Arts of Dusit Thani College
เชฟเบิ้น Wachiravit Homboonyong
Foodie
ผู้หลงรักการทำและชิมอาหาร
Partner
พันธมิตร และแบรนด์วัตถุดิบอาหาร
Professional service
หน่วยงานและองค์กร
Comment (5)
khao cooking school
ติดตามผลงานการสอนของ ผ.ศ. กอบแก้ว และขั้นตอนแปลกๆ ที่หาดูได้ยากในประวัติศาสตร์ชาติไทยได้จาก
แจ้งลบwww.khaocookingschool.com
ขอบคุณค่ะ
หมูน้อย
หมูน้อยต้องขออภัยทุกท่านเป็นอย่างสูงค่ะ มีข้อมูลผิดพลาดในส่วนของผู้เขียน คุณกอบแก้ว เป็นผู้แต่งหนังสือ �ตำรากับข้าวทันสมัย� ซึ่งมีการพิมพ์ที่สำนักพิมพ์เดียวกันกับ �ตำรากับข้าวคาวหวานประจำวัน� ส่วนผู้เขียนจริงๆ คือ �หลานแม่ครัวหัวป่าก์� ซึ่งมีชื่อจริงคือ �หม่อมเจ้าหญิง จันทร์เจริญรัชนี� ค่ะ ความผิดครั้งนี้ใหญ่หลวงนัก หมูน้อยขออภัยทุกท่านเป็นอย่างสูงเลยค่ะ
แจ้งลบFoodieAdmin
นามปากกา กอบแก้ว คือ ผศ. กอบแก้ว นาถพินิจ
แจ้งลบเจ้าของ khao Cooking School ถือเป็น Royal Thai Cuisine
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก อ.เจิมขวัญ บุนนาค
FoodieAdmin
อ้างอิงข้อมูลจาก อ.เจิมขวัญ บุนนาค
แจ้งลบตำรา แม่ครัวหัวป่าก์
ท่านผู้หญิง เปลี่ยน ภาสกรวงศ์
พิมพ์ครั้งที่๑
ร.ศ. ๑๒๗ - ๑๒๘
(พ.ศ. ๒๔๕๑ - ๒๔๕๒)
ถือเป็นตำรากับข้าวชุดแรกของไทย ที่มีการตีพิมพ์เป็นรูปเล่ม
ในการนำมาจัดพิมพ์ใหม่เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๕
นายอเนก นาวิกมูล ได้เขียนคำนำไว้ว่า
�........หนังสือแม่ครัวหัวป่าก์วิเศษ อย่างไร ตอบสั้นๆว่า แม่ครัวหัวป่าก์ดีตรงที่ท่านผู้หญิงเปลี่ยนเขียนเล่าเรื่องการทำอาหาร ไทย ผสมไปด้วยเกร็ดสนุกหลายเรื่อง ไม่ใช่เพียงแต่บอกสูตรเครื่องปรุงรกรุงรัง.........�
ส่วนหลานแม่ครัวหัวป่าก์ ก็คือ เรวดี บุนนาค ฐิตะโลหิต
FoodieAdmin
แต่หน้าปกหนังสือเล่มนี้ เขียนว่า หลานแม่ครัวหัวป่าก์ (จ.จ.ร.) คือ หลานอีกท่านหนึ่งค่ะ ที่ไม่ใช่ คุณ เรวดี บุนนาค ฐิตะโลหิต
แจ้งลบข้อมูลจาก อ.เจิมขวัญ บุนนาค