เทศกาลประเพณีวันไหว้พระจันทร์ใกล้จะเวียนมาอีกครั้งแล้ว ประมาณช่วงเดือนกันยายนนี้ มาทราบประวัติความเป็นมาของประเพณีไหว้พระจันร์กัน
เทศกาลประเพณีวันไหว้พระจันทร์ใกล้จะเวียนมาอีกครั้งแล้ว ประมาณช่วงเดือนกันยายนนี้ มาทราบประวัติความเป็นมาของประเพณีไหว้พระจันร์กัน
เทศกาลไหว้พระจันทร์ เป็นเทศกาลของชาวจีนโดยปกติจะมีวันเพ็ญ เดือน 8 (เดือนกันยายน หรือตุลาคม) เทศกาลนี้จัดขึ้นกลางฤดูใบไม้ร่วงจึงเรียกว่า "จงชิว" (Zhong Qiu) แปลว่า "กลางฤดูใบไม้ร่วง" เพื่อระลึกถึงเทพธิดาแห่งพระจันทร์ ซึ่งเชื่อกันว่าถือกำเนิดขึ้นในวันนี้
เทศกาลไหว้พระจันทร์ ชาวจีนโดยปกติจะมีขึ้นในวันที่ 15 (วันเพ็ญ) เดือน 8 (เดือนกันยายน หรือตุลาคม) เทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วงนี้จัดให้มีขึ้นเพื่อระลึกถึงเทพธิดาแห่งพระจันทร์ ซึ่งเชื่อกันว่าถือกำเนิดขึ้นในวันนี้ อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับต้นกำเนิดของเทศกาลนี้ยังคงไม่เป็นที่ปรากฏแน่ชัด
บ้างก็ว่าจักรพรรดิ์วูแห่งราชวงศ์ฮั่นเป็นผู้ริเริ่มการฉลองเพื่อกราบไว้พระจันทร์เป็นเวลา 3 วันในฤดูใบไม้ร่วงนี้ แต่หลายคนก็แย้งว่า ความจริงแล้วเทศกาลนี้เกิดขึ้นในราวปี พ.ศ. 1911 ในช่วงมองโกลยึดครองจีน ขนมเค้กที่ทำขึ้นก็เพื่อซุกซ่อนข้อความลับของพวกกบฎที่มีถึงประชาชนทั่วทั้งประเทศให้มาชุมนุมกันครั้งใหญ่นเดือน 8 นี้ ทหารมองโกลไม่ได้ระแวงถึงจุดประสงค์ของพวกกบฎ เพราะคิดว่าขนมเค้กเหล่านั้นเป็นการทำตามประเพณีดั่งเดิมของชาวจีน ด้วยเหตุนี้ในคืนนั้นเองทหารมองโกลจึงถูกปราบเสียราบคาบหลังจากที่ราชวงศ์ใหม่คือราชวงศ์หมิงได้ถูกจัดตั้งขึ้นแล้ว
ประเพณีนี้ก็ถือปฏิบัติกันมาจนถึงทุกวันนี้ นอกจากข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์เหล่านี้แล้ว ก็ยังมีนิทานและตำนานอีกหลายเรื่อง หนึ่งในจำนวนนี้ก็คือเรื่องเกี่ยวกับนางเสี้ยงหงอ (บ้างก็เรียกฉางอี้) ซึ่งเป็นหญิงที่มีความงดงามมาก นางเป็นภรรยาของขุนนางจีนท่านหนึ่ง หลังจากที่นางทานยาวิเศษเข้าไป นางก็เหาะขึ้นไปอยู่บนพระจันทร์ภายหลังนางกลายเป็นอมตะหลังจากที่ได้ดื่มน้ำอมฤตของเทพธิดาองค์หนึ่งบนสวรรค์ กล่าวกันว่านางจันทรเทพธิดาเสี้ยงหงอมีน้ำใจเมตตาเอื้ออารีมาก พอถึงฤดูกาลเพาะปลูกนางก็จะประพรมน้ำอมฤตลงมาบนพื้นโลกและนี่ก็นำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรืองแก่ชาวไร่ชาวนาทั้งมวล เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูต่อนางจันทรเทพธิดาชาวนาจึงทำขนมโก๋จากแป้งข้าวเจ้าเพื่อสักการะนางในคืนวันเพ็ญเดือน 8 เนื่องจากว่าโดยปกติประเพณีต่าง ๆ ของชาวจีนจะเกี่ยวของกับการทำอาหารพิเศษ ๆ เพื่อเป็นเครื่องสักการะในวันนั้น แต่ว่าอาหารจีนที่ทำขึ้นในวันไหว้พระจันทร์นี้ไม่ใช่ขนมเค้กอย่างเช่นของชาวตะวันตกตามที่เข้าใจกัน
ในประเทศไทย ศิลปะการทำขนมเค้กแบบชาวจีนนี้ถูกนำเข้ามาเผยแพร่โดยชาวจีนอพยพมากกว่า 100 ปีมาแล้ว ขนมไหว้พระจันทร์ของจีนแต่เดิมนั้นมีส่วนประกอบ เช่น ถั่วแดง ลูกนัทจีน 5 ชนิด และ เมล็ดบัว เป็นต้น ในประเทศไทยก็มีส่วนประกอบที่แตกต่างออกไป เช่น การรวมเอาทุเรียน ลูกเกาลัดและลูกพลับเข้าไว้ด้วย เครื่องปรุงที่เพิ่มเข้ามาก็อาจจะรวมเอาเมล็ดบัว ไข่แดงเค็ม และเมล็ดแตงโมด้วย
เป็นที่น่าสังเกตว่า โดยปกติแล้วพิธีนี้จะให้สตรีเป็นผู้ทำเพราะว่าคนเชื่อกันว่าพระจันทร์มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างแนบแน่นกับเทพเจ้าสตรีเรื่อยมา ดังนั้น จึงมีการบูชาด้วยแป้งและเครื่องสำอางด้วยเพราะหวังว่าการทำเช่นนี้จะนำมาซึ่งความสวยงามและผิวงามแก่สมาชิกในครอบครัวที่เป็นจริงทั้งหมด ไม่ว่าความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์จะก้าวหน้าไปไกลขนาดไหนก็ตาม สิ่งเหล่านี้ไม่มีผลกระทบต่อความเชื่อตามประเพณี และพิธีที่สืบทอดกันมาชั่วลูกชั่วหลานของชาวจีน
รักการทำอาหารไทยและขนมหวานโบราณ โดยยึดต้นตำรับชาววัง และเป็นผู้เขียนหนังสือ "เลาะรั้วครัววัง"
อาจารย์ มาโนชญ์ พูลผล
ที่ปรึกษาการถ่ายภาพ ช่างภาพ วิทยากร บรรยายเรื่องการถ่ายภาพ ของ NIKON THailand
อาจารย์ สยาม เอี่ยมพิชัยฤทธิ์ (ที่ปรึกษาการถ่ายภาพ )
ไม่น่าเชื่อว่าระยะเวลา 365 วันผมทำอาหาร แทบจะไม่ซ้ำกันเลย ด้วยวัตถุดิบของผมก็ได้ จากตลาดใกล้บ้าน
ทนายอ้วน (Chubby Lawyer)
Chef Instructor of Western Culinary Arts of Dusit Thani College
เชฟเบิ้น Wachiravit Homboonyong
Foodie
ผู้หลงรักการทำและชิมอาหาร
Partner
พันธมิตร และแบรนด์วัตถุดิบอาหาร
Professional service
หน่วยงานและองค์กร
Comment (0)