สูตรอาหาร

ร่วมสร้าง COOK BOOK ส่วนตัว
เพียงแนะนำสูตรอาหารของคุณที่นี่

เริ่มเลย!

ความเป็นมาของขนมปัง (Journey of the bread)

ทนายอ้วน 05 Jul 2553 13:01:58 22391 view
ความเป็นมาของขนมปัง (Journey of the bread)

มาทราบเส้นทางการเดินทางของขนมปัง จากอดีตถึงปัจจุบัน

เท่าที่เล่าต่อๆ กันมาว่า ในยุคหิน ช่วง3,000 ปี ก่อนคริสตกาล ชาวสวิสที่อาศัยอยู่ตามทะเลสาบเป็นผู้ริเริ่มนำเมล็ดข้าวสาลีมาบดโดยใช้ครกที่ทำจากหินหยาบๆ ตำ นำไปผสมน้ำ แล้วนำไปเทลงบนหินร้อนๆเพื่อให้สุก ผลที่ได้คือขนมปังที่ขึ้นฟูโดยไม่ได้ตั้งใจ

ส่วนอีกทางหนึ่งกล่าว่าพวกทาสในสมัยอียีปต์โบราณ ได้ทิ้งก้อนแป้งที่ผสมไว้แล้วลงไปในแป้งที่ผสมเสร็จใหม่ๆ ผลที่ได้คือแป้งที่เบา ฟู และรสอร่อย มีหลักฐานเช่น จิตกรรมฝาผนังในสุสานหลายๆแห่งมีภาพวาดรูปคนถือขนมปังบูชาเทพพระเจ้า นอกจากนั้นยังมีการค้นพบหินโม่แป้งและเตาอบขนมปังซึ่งทำจากดินที่เป็นทรงกรวย สันนิษฐานว่าเป็นต้นแบบของเตา “ ทันดูร ”

ในยุคอียิปต์นี้จะมีการแบ่งขนมปังออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. ขนมปังแบบที่ขึ้นฟู ที่รับประทานกันทั่วๆไป และ

2. Matzos ซึ่งเป็นขนมปังลักษณะแบนๆ ซึ่งจะนำมารับประทานกันในโอกาสพิเศษทางศาสนาเท่านั้น

ความรู้เกี่ยวกับการทำขนมปัง ได้แพร่หลายจากอียิปต์ไปสู่ภูมิภาคต่างๆ แถบเมดิเตอเรเนียนและเยรูซาเล็มโบราณ รวมทั้งเมืองเล็กเมืองน้อยที่อยู่บนเส้นทางค้าขายแถบตะวันออกกลาง การทำขนมปังก็ได้เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง ซึ่งในยุคนั้นขนมปังที่ผลิตออกมาจะมีขนาดเล็ก คล้ายกับขนมปังดินเนอร์โรลในปัจจุบัน ส่วนขนมปังแบนๆ ที่ไม่ทิ้งให้ขึ้นฟูจะใช้ในโอกาสพิเศษ เช่น พิธีทางศาสนา

หลังจากนั้นขนมปังได้แยกเส้นทางเป็น 2 สาย สายหนึ่งข้ามไปทางฝั่งยุโรป โดยพวกพ่อค้าชาวโพนิเชียน ซึ่งชาวกรีกยุคแรกเป็นพวกแรกที่ได้เรียนรู้การทำขนมปังที่ขึ้นฟูมาจากพวกกลุ่มโพนิเซียน 1000 ปีก่อนคริสตกาล

ในศตวรรษต่อมา วิวัฒนาการในศิลปะการทำขนมปังก้าวหน้าเป็นอย่างมาก ชนชาติกรีกได้ประดิษฐ์หินโม่แป้งสาลี และผลิตแป้งออกมาถึงสี่ชนิด ซึ่งชนิดหนึ่งนั้นเป็นแป้งสาลีชนิดขาว (White flour) และได้ดัดแปลงเตาอบแบบอียีปต์โบราณมาเป็นเตาอบแบบใช้อิฐก่อเป็นรูปโดม ซึ่งมีประสิทธิภาพมากยิ่งขิ้น ชนชาติกรีกนั้นใช่แต่จะเป็นผู้ผลิตขนมปังที่ทำจากแป้งสาลีชนิดสีขาวที่มีคุณภาพเยี่ยมเท่านั้น แต่ยังได้ผลิตขนมเค้ก และขนมนานาชนิด โดยใช้ส่วนผสมกับนม น้ำมัน เหล้าไวน์ เนยแข็ง และน้ำผึ้งผสมเข้าไปด้วย

ตลอดกาลสมัยเหล่านี้ จากกรีก ไปโรม ถึงยุโรปตอนกลาง ศิลปะการทำขนมอบดำเนินไปอย่างช้าๆ ต่อมาความเจริญก้าวหน้าอย่างมหาศาลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้เกิดวิวัฒนาการอย่างใหญ่หลวงแก่การทำขนมอบในปัจจุบัน สาเหตุใหญ่ 2 ประการ คือ ในกลางปี 1800 ได้มีการตั้งโรงโม่แป้งสาลี และได้มีการผลิตแป้งสาลีที่ดีออกสู่ตลาด และในตอนปลายศตวรรษนั้นได้มีการใช้ยีสต์ ซึ่งเป็นตัวสำคัญในการทำให้แป้งขนมปังขึ้นฟู และมีการใช้กันอย่างแพร่หลาย

ส่วนการเผยแพร่ขนมปังอีกสายหนึ่งได้เดินทางมาสู่ทวีปเอเชียกลาง มายังอินเดีย และ จีน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะอิทธิพลของยุคล่าอาณานิคม ประเทศเจ้าอาณานิคมได้นำเอาทุกๆอย่างที่มีอยู่ในประเทศของตนเข้ามาเผยแพร่ให้กับประเทศใต้อาณานิคมรวมถึงอาหารการกินซึ่งหนึ่งในนี้ก็คือ ขนมปัง เลยทำให้ประเทศในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ซึ้งเคยรับประทานข้าวเป็นหลักหันมารับประทานขนมปังตามประเทศเจ้าอาณานิคม เช่น เวียดนาม ลาว ซึ่งตกอยู่ใต้การปกครองของฝรั่งเศสรับเอาขนมปังบาแกตต์มาเป็นอาหารเช้า

ในปัจจุบันนี้ การทำขนมอบนั้นนับว่าเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง ซึ่งต้องการความชำนาญเป็นอย่างมาก แต่วิวัฒนาการด้านเครื่องมือและเครื่องทุ่นแรงต่างๆ ที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ ก็ได้รับการพัฒนาคิดค้นอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นเตาอบที่ควบคุมด้วยไมโครคอมพิวเตอร์ เครื่องแบ่งก้อนแป้งและปั้นกลมอัตโนมัติ เพื่อให้การทำขนมปังมีวิวัฒนาการ เจริญก้าวหน้า และทันสมัยต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง

Comment (6)

...............

30 Jul 2556 10:15:31

แจ้งลบ

02 Aug 2553 14:30:18

แจ้งลบ

pop

08 Sep 2554 19:48:25

แจ้งลบ

'''''''''''''

08 Sep 2554 19:50:04

แจ้งลบ

25 Jan 2558 13:50:49

แจ้งลบ

]k;

17 Dec 2553 12:15:38

แจ้งลบ

Write Review

ยิ้ม ฮา กระพริบตา ตะลึง อ้าปากหวอ แลบลิ้น ร้องไห้ หน้าบึ้ง ขมวดคิ้ว โกรธ ยิ้มมีเลศนัย แหวะ ใส่แว่น ซีดเซียว เหงื่อตก เอ๋อจับ เอ๋อจับ Quuu สบายใจ แจ่ม !! ตายซาก โมโหสุดๆ หัวงู ฉลอง เย้ หลับกลบเกลื่อน ยกนิ้วให้ แย่มั่กๆ อันตราย ยิ้มกว้าง หัวเราะ กระพริบตา เท่ห์ ขอโทษ ท้อแท้ หลับ หงุดหงิด ตัวป่วน rrrrrrrrr โอ้ว เฮ้อ ร้องไห้ ดีใจ ฉุน งัวเงีย น่ารัก เริงร่า

Official Editor

Warm Welcome

Foodie

ผู้หลงรักการทำและชิมอาหาร

Partner

พันธมิตร และแบรนด์วัตถุดิบอาหาร

Professional service

หน่วยงานและองค์กร

Contact Us

Bangkok Thailand

+6681 559 9599

foodietaste88@gmail.com