เครื่องครัวที่เราใช้กัน ไม่ว่าจะเป็นกระทะ,หม้อซุป,หม้ออบความดัน,มีดแบบต่างๆ,ที่ขูดผิวมะนาว ก็ล้วนแต่นำสแตนเลสสตีลมาทำ
เครื่องครัวที่เราใช้กัน ไม่ว่าจะเป็นกระทะ,หม้อซุป,หม้ออบความดัน,มีดแบบต่างๆ,ที่ขูดผิวมะนาว ก็ล้วนแต่นำสแตนเลสสตีลมาทำ
การที่โลหะเกิดออกไซด์ทำให้เกิดการกัดกร่อนของเนื้อโลหะ ในกรณีที่วัสดุนั้นเป็นเหล็ก จะทำให้เกิดสิ่งที่เราเรียกกันว่า สนิมเหล็ก (Stain) มีลักษณะเป็นเนื้อพรุน ทำให้เหมาะที่จะกักเก็บไอน้ำ ออกซิเจน และสารเคมีอื่น ทั้งจากอากาศและอาหาร สอดแทรกเข้าไปทำปฏิกิริยากับเนื้อเหล็กที่อยู่ใต้ชั้นออกไซด์ต่อได้ ทำให้เนื้อเหล็กที่อยู่ใต้ชั้นออกไซด์สามารถถูกกัดกร่อน
ต่อมาจึงได้มีการพัฒนาโลหะผสม (Alloy,อัลลอย) ที่เรารู้จักกันดี คือ สแตนเลสสตีล (Stainless Steel) มีความหมายตรงตัว คือ เหล็กกล้าไร้สนิม เป็นเหล็กที่มีปริมาณคาร์บอนต่ำ(น้อยกว่า 2%)ของน้ำหนัก มีส่วนผสมของโครเมียม อย่างน้อย 10.5%
กำเนิดขึ้นในปี พ.ศ.1903 และมีการเติม นิเกิล,โมบิดินัม,ไททาเนียม,ไนโอเนียม หรือโลหะอื่นแตกต่างกันไปตามชนิด ของคุณสมบัติเชิงกล และการใช้ลงในเหล็กกล้าธรรมดา ทำให้เหล็กกล้ามีความต้านทานการเกิดสนิมได้และการนำความร้อนได้ดีขึ้น
ซึ่งการที่มีโครเมียมผสมอยู่ในโลหะ จะทำให้เกิดคุณสมบัติของฟิล์มออกไซต์บนพื้นผิวเปลี่ยนแปลงไป กลายเป็นฟิล์มปกป้อง หรือพลาสซิฟเลเยอร์ (Passive Layer) ที่เหมือนเกราะป้องกันการกัดกร่อนให้กับสแตนเลส สตีล
ฟิล์มปกป้องนี้จะมีขนาดบางมาก (สำหรับแผ่นสเตนเลสบางขนาด 1 มม. ฟิล์มหรือพาสซีฟ เลเยอร์นี้ จะมีความบางเทียบเท่ากับวางกระดาษ 1 แผ่น บนตึกสูง 20 ชั้น) และมองตาเปล่าไม่เห็นฟิล์มนี้จะเกาะติดแน่น และทำหน้าที่ปกป้องสเตนเลส สตีล จากการกัดกร่อน หากนำไปผลิตแปรรูปหรือใช้งานในสภาพเหมาะสม เมื่อเกิดมีการขีดข่วน ฟิล์มปกป้องนี้จะสร้างขึ้นใหม่ได้เองตลอดเวลา
แต่โดยส่วนใหญ่สแตนเลสสตีล ที่นำมาทำเครื่องครัวที่ใช้กัน จะประกอบด้วย
โดยสักเกตุยิ่งค่าของนิกเกิลยิ่งสูง จะเป็นแสตนเลสสตีลที่มีคุณภาพสูง จะยิ่งทนต่อการกัดกร่อน การเกิดสนิม และสวยงามแวววาวมากขึ้น
เครื่องครัวที่ทำจากสเตนเลสสตีล มีข้อดีและข้อเสีย หลายอย่างเช่น
ข้อดีของการใช้สแตนเลสสตีล
ข้อเสียของการใช้สแตนเลสสตีล
จึงมักจะใช้ทำเครื่องครัวโดยผสมกับทองแดง (Copper) หรืออะลูมิเนียม (Aluminum) ซึ่งเป็นโลหะที่มีค่าการนำความร้อนสูง เรียกได้ว่าเป็นการผสมผสานข้อดีของวัสดุต่างๆ เพื่อนำมาใช้ทำเครื่องครัวที่เหมาะสมกับผู้ที่รักการทำอาหาร ไม่ว่าจะเป็นกระทะ, กระทะกลม, กระทะแบน,หม้อซุป, หม้อซอส, ถาดอบ, ที่ขูดชีส, ที่ขูดผิวส้ม
รักการทำอาหารไทยและขนมหวานโบราณ โดยยึดต้นตำรับชาววัง และเป็นผู้เขียนหนังสือ "เลาะรั้วครัววัง"
อาจารย์ มาโนชญ์ พูลผล
ที่ปรึกษาการถ่ายภาพ ช่างภาพ วิทยากร บรรยายเรื่องการถ่ายภาพ ของ NIKON THailand
อาจารย์ สยาม เอี่ยมพิชัยฤทธิ์ (ที่ปรึกษาการถ่ายภาพ )
ไม่น่าเชื่อว่าระยะเวลา 365 วันผมทำอาหาร แทบจะไม่ซ้ำกันเลย ด้วยวัตถุดิบของผมก็ได้ จากตลาดใกล้บ้าน
ทนายอ้วน (Chubby Lawyer)
Chef Instructor of Western Culinary Arts of Dusit Thani College
เชฟเบิ้น Wachiravit Homboonyong
Foodie
ผู้หลงรักการทำและชิมอาหาร
Partner
พันธมิตร และแบรนด์วัตถุดิบอาหาร
Professional service
หน่วยงานและองค์กร
Comment (2)
วงศพัทธ์
จริงๆข้อมูลผิดนะครับ ตรง
แจ้งลบ18/0 คือ Chromium 18% Nickle 0%
18/8
18/10
ก็เช่นเดียวกัน คือมี โครเมี่ยมเป็นส่วนผสมอย่างน้อย 10.5% ซึ่ง food grade ทั้งสามแบบมี โครเมี่ยม 18% ครับ ส่วนตัวแปล นิกเกิ้ล เป็นตัวช่วยเสริมความแข็งแรง การทนต่อการกัดกร่อนได้
ปัจจุบันมี food grade ใหม่เรียกว่า Stainless Steel 316Ti ซึ่งคล้ายกับเกรด 18/10 แต่มีการเสริม Titanium เข้ามาเพิ่ม ก็จะยิ่งทนต่อการกัดกร่อนเพิ่มขึ้น นิยมใช้ในเครื่องมือแพทย์ หรือในเรือ ครับ
ทัศนีย์ ติวัฒนาสุข
สแตนเลสคืออะไร แบ่งเป็น 4 ชนิดหลัก
แจ้งลบออสเตนิติก แม่เหล็กดูดไม่ติด ใช้ทำ ....
เฟอร์ริติก แม่เหล็กดูดติด ใช้ทำ .....
มาร์เทนซิติก แม่เหล็กดูดติด ใช้ทำ มีด ซ้อม เครื่อมือตัด เครื่องมือวิศวกร อื่น ๆ
ดูเพล็กซ์ แม่เหล็กดูดติด มีโครงสร้างผสมเฟอร์ไรต์ และ ออสเตไนต์
เหล็กกล้าไร้สนิม โลหะทุกชนิดโดยทั่วไปจะทำปฎิกิริยากับอ๊อกซิเจนในอากาศ
เกิดฟิล์มออกไซค์บนผิวโลหะ ซึ่งทำปฎิกิริยาออกซิเตชั่น มีรายละเอียดอื่น ๆ อีกเยอะ
หากมีข้อสงสัยอยากรู้เพิ่มเติม เชิญ 081 860546 1