สูตรอาหาร

ร่วมสร้าง COOK BOOK ส่วนตัว
เพียงแนะนำสูตรอาหารของคุณที่นี่

เริ่มเลย!

Let’s write Recipes หลากหลายวิธีเขียนสูตรอาหาร

หมูน้อย 04 Oct 2553 9:53:09 18321 view
Let’s write Recipes  หลากหลายวิธีเขียนสูตรอาหาร

“สูตรอาหาร” เป็นสิ่งที่ผู้รักการทำอาหารทุกคนรู้จักกันดี เพราะเจ้าสูตรอาหารนี่แหละที่ทำให้คุณรู้ปริมาณ ส่วนผสม และวิธีทำอาหารชนิดต่างๆ ได้ง่ายดาย นอกจากนี้ วิธีการเขียนสูตรอาหารก็ไม่ได้มีแค่แบบเดียว แต่มีถึง 4 แต่ละวิธีเขียนนั้นจะง่ายหรือยาก ตามไปดูกันค่ะ

รู้กันอยู่ว่าสาวก Foodietaste หลายท่านนั้นชื่นชอบการทำอาหารและแบ่งปันสูตรอาหารให้เพื่อนๆ ได้ลองอ่าน ลองทำ เพราะมีรางวัลจากทางเว็บไซต์มาล่อใจ เอ๊ย ! ไม่ใช่ เพราะเป็นการฝึกฝีมือและได้รู้จักอาหารใหม่ๆ จากการดูสูตรอาหารของ ท่านอื่นที่นำมาลงไว้ในเว็บด้วยต่างหาก (เนอะ) ครั้งนี้หมูน้อยก็เลยมีวิธีการเขียนสูตรอาหารที่ถูกต้องมาฝากกันค่ะ

จุดประสงค์หลักจริงๆ ของสูตรอาหาร นั้นในสมัยก่อนคือ มีไว้สำหรับกันพวกเราคนครัวจะลืม (ซึ่งถ้าใครไม่ได้ลองทำอาหารชนิดไหนนานๆ ก็อาจจะลืมกันบ้างน่ะค่ะ) แต่ในปัจจุบันพอเริ่มมีร้านอาหารผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด และเหล่าเชฟชื่อดังบางท่านเริ่มจะไม่หวงสูตร สูตรอาหารก็เลยมีไว้สำหรับ สร้างมาตรฐานให้ร้านอาหารต่างๆ หรือเผยแพร่ให้ผู้ที่สนใจสามารถทำตามได้ (เหมือนในเว็บนี้ไงคะ)

อย่างที่ทราบกันว่า สูตรอาหารนั้นขะมีส่วนที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ ส่วนของเครื่องปรุงหรือส่วนผสม ( Ingredients) และ ส่วนของวิธีทำ ( Methods) ถ้าขาดส่วนใดส่วนหนึ่งสูตรอาหารนั้นๆ ก็คงไม่สมบูรณ์ และคงไม่มีใครคนอื่นทำตามได้ ดังนั้นการที่คุณจะเขียนสูตรอาหารใดๆ ก็ตาม อย่าลืมว่าต้องมีส่วนผสมและวิธีทำอยู่ด้วยกัน

ส่วนของเครื่องปรุงนั้นควรจะใส่ปริมาณอย่างคร่าวๆ ลงไปในสูตรด้วยนะคะ โดยที่หน่วยในการตวงควรจะเป็นหน่วยสากล อย่างเช่น ถ้วยตวง ปอนด์ ออนซ์ กรัม เป็นต้น เพราะถ้าใส่หน่วยที่ไม่เป็นสากลก็อาจจะสร้างความงงให้ผู้อ่านได้ (เหมือนหน่วยฝายมือ ที่หมูน้อยเคยอ่านเจอนั่นไง) ถ้าถามว่าจำเป็นต้องเป็นปริมาณที่พอดีแบบเป๊ะๆ เลยหรือเปล่า ถ้าเป็นอาหารประเภทเบเกอรี่ล่ะก็ ควรค่ะ แต่ก็มีหลายอย่างที่จะลด จะเพิ่มเพื่อรสชาติที่ถูกใจคุณก็ย่อมได้อยู่แล้ว ดังนั้นปริมาณที่เขียนลงในสูตรก็สามารถเขียนปริมาณคร่าวๆ ได้ค่ะ หรือถ้าให้ดี กำหนดเทียบหน่วยไว้ด้วยก็ได้  อย่างเช่น แป้งสาลีอเนกประสงค์ 1 ถ้วยตวง (ประมาณ 95 กรัม)  (ตารางเปรียบเทียบอัตราส่วน) สำหรับวิธีทำ ก็ควรจะเขียนอธิบายตามลำดับขั้นตอนก่อนหลังใช้ประโยคสั้น กระชับ ใครอยากใช้ technical term หรือพวกคำศัพท์เฉพาะก็ไม่ผิดเลยค่ะ โชว์กันได้เต็มที่

ทีนี้มาดูรูปแบบการเขียนสูตรอาหารกันบ้าง มี 4 แบบค่ะ

  • แบบแรกเลยคือแบบมาตรฐาน หรือ Standard Form ซึ่งใช้กันทั่วไปคือ ในสูตรจะแบ่งเป็น 2 ส่วนก็คือส่วนเครื่องปรุงและวิธีทำนั่นแหละค่ะ แบบนี้มักจะใช้กับสูตรอาหารที่มีเครื่องปรุงมาก เพราะจะเขียนเครื่องปรุงโดยเรียงลำดับการใช้ก่อน - หลังเป็นข้อ 1,2,3,4 ลงมาเป็นทางยาวเลยส่วนวิธีทำก็จะเขียนแบ่งเป็นข้อๆ ไปว่าต้องทำอะไรบ้าง เราเห็นสูตรแบบนี้กันเยอะมากเลย เพราะจะสะดวกสำหรับผู้ทำอาหารที่สุด
  • แบบที่ 2 Action Form จะเขียนอธิบายวิธีทำ สลับกับเครื่องปรุงไป ส่วนของเครื่องปรุงก็จะเขียนเหมือนกับแบบแรกเพียงแต่การเขียนอธิบายวิธีทำจะแทรกอยู่ระหว่างส่วนผสม วิธีนี้ไม่ค่อยนิยมมากเท่าไหร่ เพราะเป็นสูตรที่อ่านยาก (แต่อาจารย์ของหมูน้อยบอกว่ามันเหมาะกับมือใหม่หัดทำกับข้าวนะ เพราะวิธีทำบางอย่างก็ควรทำก่อนที่จะเตรียมเครื่องปรุงอย่างเช่น เปิดเตาอบหรืออะไรแบบนี้ แต่โดยส่วนตัวหมูน้อยว่าอ่านยากจัง) แต่สมัยน้ก็มีให้เห็นบ้างประปราย ส่วนใหญ่จะใช้กับสูตรเบเกอรี่ สตูว์ หรืออะไรที่ต้องเคี่ยว ต้ม นานๆ ค่ะ
  • สูตรแบบ Descriptive Form เป็นสูตรที่ใช้วิธีการเขียนแบบพรรณนา แค่เครื่องปรุงอย่างเดียวอาจจะหมดไปครึ่งหน้า A4 ได้เลย เพราะต้องอธิบายวิธีการเตรียมส่วนผสมด้วย ใช้แป้งเค้กจำนวน 3 ถ้วยที่ร่อนผ่านกระชอนพร้อมกับผงฟู 3 ช้อนชา ส่วนวิธีทำจะไม่มีการเขียนแบบเป็นข้อๆ ลงมา แต่จะขึ้นย่อหน้าใหม่ในแต่ละครั้งที่ขึ้นขั้นตอนใหม่ เป็นต้น เป็นสูตรที่หมูน้อยว่ามันก็เขียนละเอียดดีค่ะ อ่านยากนิดหน่อย และถึงแม้ว่าส่วนผสมกับวิธีทำจะเขียนแยกคอลัมน์กัน ถ้าตัวหนังสือเล็กๆ มายิ่งอ่านยาก แต่ถ้าใครอยากได้แบบละเอียดสุดๆ ก็วิธีนี้เลยค่ะ สูตรแบบนี้จะใช้สำหรับมือโปรแล้ว สำหรับมือสมัครเล่น (อย่างหมูน้อย) ต้องหลบค่ะ เพราะบางทีอ่านแล้วก็แอบงง
  • Narrative Form หรือแบบ บรรยายโวหาร จะใช้กับตำรับสั้นๆ ที่มีเครื่องปรุงน้อย และวิธีทำแค่ไม่กี่ขั้นตอนเท่านั้น จะเขียนเป็นบรรยายคล้ายๆ กับแบบที่สามค่ะแต่อันนี้ส่วนผสมกับวิธีทำจะรวมกันไปเลย เราจะเจอในสูตร น้ำจิ้ม เครื่องดื่มทั้งหลาย ประเภท เอาส่วนผสมทั้งคนรวมกันก็เสร็จ น่าจะเคยเห็นกันบ่อย

เอาล่ะค่ะ เมื่อรู้ถึงรูปแบบในการเขียนสูตรอาหารแล้ว หวังว่าเพื่อนๆ ชาว Foodietaste บางท่านอาจจะอยากลองแบ่งปันสูตรอาหารใหม่ๆ ด้วยวิธีการเขียนใหม่ๆ กันบ้างนะคะ แล้วเจอกันครั้งหน้าค่ะ

Comment (0)

Write Review

ยิ้ม ฮา กระพริบตา ตะลึง อ้าปากหวอ แลบลิ้น ร้องไห้ หน้าบึ้ง ขมวดคิ้ว โกรธ ยิ้มมีเลศนัย แหวะ ใส่แว่น ซีดเซียว เหงื่อตก เอ๋อจับ เอ๋อจับ Quuu สบายใจ แจ่ม !! ตายซาก โมโหสุดๆ หัวงู ฉลอง เย้ หลับกลบเกลื่อน ยกนิ้วให้ แย่มั่กๆ อันตราย ยิ้มกว้าง หัวเราะ กระพริบตา เท่ห์ ขอโทษ ท้อแท้ หลับ หงุดหงิด ตัวป่วน rrrrrrrrr โอ้ว เฮ้อ ร้องไห้ ดีใจ ฉุน งัวเงีย น่ารัก เริงร่า

Official Editor

Warm Welcome

Foodie

ผู้หลงรักการทำและชิมอาหาร

Partner

พันธมิตร และแบรนด์วัตถุดิบอาหาร

Professional service

หน่วยงานและองค์กร

Contact Us

Bangkok Thailand

+6681 559 9599

foodietaste88@gmail.com